โซล่าเซลบนหลังคาบ้านเขาคิดอย่างไร

ล้านหลังคา ล้านโซลาร์เซลล์ พลังผู้บริโภค สู่พลังงานหมุนเวียน

ในระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่เห็นทั่วไปนั้น มีอยู่ 2 ระบบใหญ่ๆ คือ Ongrid System กับ Hybrid System

ระบบโซลาร์แบบออนกริด (Ongrid Solar System) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของ การไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยสัดส่วนขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต และจำนวนโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้ในบ้าน

ส่วน ระบบโซลาร์แบบไฮบริด (Hybrid Solar System) พัฒนาขึ้นมาจากระบบออนกริดโดยแก้ไขข้อด้อยที่ไม่สามารถจ่ายไฟในเวลากลางคืน และต้องหยุดการทำงานขณะที่ไฟฟ้าดับ นั่นคือสามารถทำงานได้ในขณะที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง แก้ปัญหาไฟดับ-ไฟตก

แต่ด้วยความยุ่งยากของกฏหมาย ที่กำหนดให้การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ทั้งแบบ ออนกริด และ ไฮบริด ต้องขออนุญาตจากหน่วยงาน ของภาครัฐ ถึง 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ( กกพ.) กระทรวงพลังงาน
2.การไฟฟ้านครหลวง ( กฟน . ) และ 3.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รวมถึง หน่วยงาน สำนักงานเขต/อำเภอ/ หน่วยงานท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต.

เมื่อประชาชนต้องแจ้งถึง 3 หน่วยงานภาครัฐ เพื่อขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำให้ไม่มีใครอยากดำเนินการ ที่สำคัญ ยังมีกฎกระทรวงมหาดไทย ยิ่งทำให้วุ่นวายเข้าไปอีก เพราะกำหนดให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเรือน จะต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ที่จัดทำและรับรองโดยวิศวกรโยธา จากนั้นให้แจ้งต่อเทศบาลท้องถิ่น ให้ทราบก่อนดำเนินการ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ ออกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ลงนามโดย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 65 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยปัญหาที่ตามมา นั่นคือ ประชาชน ต้องจ่ายเงินเป็นค่าวิศวกร รับรองแบบ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการจดแจ้ง ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ( พ.ศ. 2566 ) เงื่อนไขที่สร้างภาระให้กับประชาชน ยังคงอยู่ โดยไม่มีมาตรการใดๆ จากรัฐบาลมาอุดหนุน หรือเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า

สีของหลอดไฟ สีแบบไหน? เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ

เคล็ดลับเลือก ‘สีของหลอดไฟ’ สีแบบไหน ? เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
สถานการณ์ในยุคปัจจุบัน ทำให้เราใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านกันมากขึ้น ไม่ว่าจะทำงาน พักผ่อน หรือแม้แต่กิจกรรมร่วมกับสมาชิกในบ้าน และทราบไหมครับว่า สีของหลอดไฟที่เราใช้กันภายในบ้านนั้น สามารถสร้างบรรยากาศให้กับกิจกรรมหรือไลฟ์สไตล์ของคุณได้เช่นกัน วันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกโทนสีของหลอดไฟ เพื่อให้เลือกใช้ได้อย่างที่ต้องการกันครับ

 

สายนอน : ควรเลือกใช้หลอดไฟโทนสีเหลือง (Warm white) ในห้องนอน ให้แสงสว่างแบบอ่อนโยน ส่งความรู้สึกผ่อนคลาย
สายทำงาน : เลือกใช้หลอดไฟโทนสีขาว (Daylight) ในห้องทำงาน เพราะแสงสีขาวจะให้ความสว่างสบายตา ช่วยสร้างสมาธิในการทำงาน
สายชิลล์ : เลือกใช้หลอดไฟโทนสีธรรมชาติ (Natural white) ในห้องนั่งเล่น เพราะให้สีคล้ายแสงแดด ทำให้ห้องรู้สึกอบอุ่นน่านั่ง
สายสนุก : เลือกใช้หลอดไฟโทนสีขาวอมฟ้า (Cool white) ในห้องรับแขก เพราะแสงโทนนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศแบบสว่างสดใส เหมาะกับการรับแขก
ไม่ว่าคุณจะเลือกหลอดไฟสีไหน อย่าลืมเลือกหลอดไฟ LED ที่มี ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
เพราะมีอายุการใช้งานสูงสุดถึง 50,000 ชั่วโมง ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 15-75% เลยทีเดียวครับ

6 เคล็ด(ไม่)ลับประหยัดพลังงานออฟฟิต

6 เคล็ด (ไม่) ลับ ประหยัดพลังงานที่ออฟฟิศได้ด้วยตัวเอง
สวัสดีวันนี้เราขอเสนอ 6 วิธี ที่เป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราสามารถทำได้ แถมยังช่วยสำนักงานประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงได้ช่วยประหยัดพลังงานอย่างถูกวิธีและยังช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ในสำนักงานของเราได้อีกด้วย

 

1. ปิดไฟทุกพักเที่ยง อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
2. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ 25-26 องศา สามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 10%
3. ปิดสวิทช์ไฟทุกครั้งหลังเลิกงาน
4. ถอดปลั๊กเครื่องถ่ายเอกสาร หรือปลั๊กไฟเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในสำนักงานเมื่อเลิกใช้
5. ใช้กระดาษรีไซเคิลปริ้นเอกสารหรือใช้กระดาษให้ครบทั้ง 2 หน้า เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
6. เดินขึ้นบันได 1 – 2 ชั้น แทนการใช้ลิฟท์โดยสาร เพราะการใช้ลิฟท์แต่ละครั้งต้องเสียค่าไฟถึง 5 – 7 บาท
แน่นอนว่าการทำงานของทุกสำนักงานมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้ามากมาย  ซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องแต่จริง ๆแล้วเราก็สามารถประหยัดไฟได้ ตามวิธีที่แนะนำเพียงเท่านี้ก็สามารถลดค่าไฟฟ้าของสำนักงานไปได้เท่านึงเลย
หากรู้แบบนี้แล้วอย่าลืมช่วยกันประหยัดไฟฟ้าในสำนักงานกันนะครับ

มารู้จักกับ 3 ชนิดของโซล่าร์เซล

ทำความรู้จักกับ 3 ชนิด ของโซลาร์เซลล์
“พลังงานหมุนเวียน” เป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและยั่งยืนกว่าในการผลิต “พลังงานแสงอาทิตย์” ก็เป็นหนึ่งในประเภทพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน และในอนาคตเราจะได้เห็นแผง “โซลาร์เซลล์” อยู่รอบตัวเรามากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในรูปแบบโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่กลางที่โล่งกว้าง บนผืนน้ำ ไปจนถึงบนหลังคาบ้าน และทราบไหมครับว่า แม้แผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะผลิตจากธาตุซิลิคอนเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างในรายละเอียด โดยที่นิยมใช้กันแบ่งออกได้ 3 ชนิด ดังนี้

 

1.“โมโน” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Cells) มีลักษณะเป็นช่องสี่เหลี่ยมตัดมุมเรียงต่อกัน ทำให้ดูเหมือนมีจุดขาว ๆ อยู่ตลอดทั้งแผง แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง ใช้ซิลิคอนชิ้นเดียวในการผลิตเซลล์แต่ละชิ้น ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงตามไปด้วย โดยอยู่ที่ 17-20% และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด สามารถใช้ได้นานมากกว่า 25 ปี
 
2.“โพลี” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells) แผงโพลีมีคุณภาพรองลงมาจากแผงโมโน ลักษณะจะเป็นตารางสี่เหลี่ยมเช่นกัน แต่บริเวณเหลี่ยมจะไม่มีการตัดมุมเหมือนแผงโมโน การผลิตแผง โพลีจะใช้ซิลิคอนอัดรวมกันเป็นแผง ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 15-19% มีประสิทธิภาพต่างกับแผงโมโนไม่มากนัก ข้อดีคือมีราคาถูกกว่า และลดการทิ้งขยะเศษเหลือของซิลิคอนระหว่างผลิต และมีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี ซึ่งไม่ต่างกับแบบโมโนมากนัก
 
3. “อมอร์ฟัส” – แผงโซลาร์เซลล์แบบอมอร์ฟัส (Amorphous Solar Cells) แผงแบบอมอร์ฟัสนั้นเป็นประเภทที่ไม่ได้ใช้ซิลิคอนผลิต แต่เป็นการใช้ Thin Film Technology เคลือบ “สาร” ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ ไว้บนแผงที่ทำมาจากแก้วหรือพลาสติก หน้าตาของแผงจะมีลายเส้นตรงถี่ ๆ เรียงต่อกัน ไม่ได้เป็นตารางเหมือนอีกสองชนิดข้างต้น ข้อดีคือมีราคาถูกที่สุด และสามารถทำงานได้แม้จะอยู่ในที่แสงน้อย รวมถึงการเคลือบสารบนพลาสติกได้ ทำให้ถูกนำไปปรับใช้กับพื้นที่ที่มีความโค้งมนได้ แต่มีข้อสังเกตุในด้านประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงอมอร์ฟัสจะมีไม่สูงนัก รวมทั้งอายุการใช้งานสั้นประมาณ 5 ปีเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วแผงแบบอมอร์ฟัส มักจะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าต่ำ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา
โซลาร์เซลล์นั้นมีประโยชน์ในด้านการใช้พลังงานทดแทนแทนพลังงานฟอสซิล เป็นการใช้พลังงานสะอาด ไม่สร้างมลพิษ ตลอดจนช่วยลดภาวะโลกร้อน อีกข้อดีคือ การติดแผ่นโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาช่วยลดความร้อนภายในบ้านได้ แถมยังผลิตไฟฟ้าใช้เอง ช่วยลดค่าไฟลงอีกด้วย
ที่มา : positioningmag (https://bit.ly/3l3MrPq)

อยู่บ้านอย่างไรให้ประหยัดไฟฟ้า

I Stay At home.
ชีวิตในช่วงที่ต้องทำงานที่บ้าน WFH ยาวๆแบบนี้ ! อยู่บ้านอย่างไร ให้ประหยัดค่าไฟ

 

อากาศของประเทศไทยเราตอนนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าอากาศจะร้อนมาก แม้จะร้อนกาย แต่อย่าให้ค่าไฟฟ้ามาทำให้เราร้อนใจ
วันนี้เรา ขอยกตัวอย่าง 6 วิธีการลดค่าไฟในชีวิตที่ต้อง WFH กันยาวๆกับสภาวะแวดล้อมที่ลุ่มร้อนแบบนี้มาฝากกัน
1. ซักผ้าในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากไม่น้อยเกินไป
โดยซักรวมกัน ไม่เเยกกันซัก ช่วยลดจำนวนการใช้เครื่องซักผ้าต่อเดือนลง
2. ให้พัดลมช่วยทำงานร่วมกับแอร์ นอกจากทำให้เย็นสบายแล้วยังลดค่าไฟได้มากทีเดียว
3. ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้ นอกจากประหยัดไฟแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยด้วย
4. ปรับแอร์ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม(ร่างกายคนเราจะค่อยๆปรับสมดุลย์อย่างอัตโนมัติ) ประมาณ 26 องศา ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
5. ตั้งเวลาปิดแอร์ล่วงหน้า ตั้งปิดก่อนตื่นสักหนึ่งชั่วโมงจะช่วยประหยัดค่าไฟได้มากทีเดียว
6. เปิดหน้าต่างรับลมภายนอก ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกช่วยทำให้บ้านเย็นลง อากาศถ่ายเทมากขึ้น ช่วยด้านสุขภาพด้วยนะครับ
ทั้งหมดเป็นวิธีง่ายๆ ในการใช้พลังงานอย่างประหยัดในช่วงสถานะการณ์ WFH ของเรา อย่างไรก็ดี ลองปรับใช้ดูนะครับ
อย่าให้ความร้อนมาทำให้เราร้อนใจ ประหยัดไฟกันดีกว่านะ ลดค่าใช้จ่ายก็เท่ากับเพิ่มรายได้